ระย่อมน้อย เป็นพรรณไม้พืชบ้านของภาคใต้ของไทยเรานั้นเองโดยพืชชนิดนี้มีสรรพคุณทางยาหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นช่วยทำให้เจริญอาหาร อยากอาหาร เนื่องจากรสชาติที่ขมและเย็นทำให้ช่วยกระตุ้นน้ำย่อยให้หลั่งออกมา ช่วยบำรุงประสาทและกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทให้ทำไงได้ดีขึ้น เป็นยาบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ ช่วยฟอกเลือด ทำให้เลือดเย็น เป็นต้นโดยนิยมนำเอายอดอ่อนของพืชชนิดนี้มาใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการที่กล่าวมานั้นเอง
ระย่อมน้อย(Rauwolfia) มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)มีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นพื้นเมืองอื่นๆว่าละย่อม (สุราษฎร์ธานี), ปลายข้าวสาร (กระบี่), คลาน ตูมคลาน มะโอ่งที สะมออู (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี), เข็มแดง ย่อมตีนหมา (ภาคเหนือ), กะย่อม ระย่อมน้อย (ภาคใต้), กอเหม่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), เสอเกินมุ อิ้นตู้หลัวฟูมุ (จีนกลาง)
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของระย่อมน้อย
ระย่อมน้อยเป็นพันธุ์พืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและทวีปใกล้เคียงโดยในเอเชียพบในประเทศศรีลังกา อินเดีย เนปาล ภูฏาน ภูมิภาคอินโดจีน พม่า จีน และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยเราสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยมักขึ้นตามพื้นที่โล่งในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้งนั้นเอง
ประโยชน์และสรรพคุณของระย่อมน้อย
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร อยากอาหาร เนื่องจากรสชาติที่ขมและเย็นทำให้ช่วยกระตุ้นน้ำย่อยให้หลั่งออกมา
- ช่วยบำรุงประสาทและกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทให้ทำไงได้ดีขึ้น
- เป็นยาบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ
- ช่วยฟอกเลือด ทำให้เลือดเย็น
- มีสรรพคุณช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกินปกติจึงช่วยรักษาโรคความดัน
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดรักษาอาการโรคเบาหวานได้
- ช่วยบรรเทาอาการปวดอาการศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง
- ทำให้จิตใจสงบ แก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยให้นอนหลับ
- เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษกาฬ แก้บ้าเพื่อดีและโลหิต
- เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้หวัดตัวร้อนที่ทำให้มีอาการปวดหัว
- เป็นยาแก้ไข้ป่า ไข้มาลาเรีย ไทฟอยด์บ้างใช้รากเป็นยาแก้ไข้ชัก แก้โรคเด็กเป็นซางชัก ใช้ต้นเป็นยาแก้ไข้อันทำให้หนาว และใช้ไส้เป็นยาแก้ไข้อันร้ายกาจ
- เป็นยาแก้ไข้พิษ แก้ไข้สันนิบาต
- ช่วยแก้หืด แก้ลมอัมพฤกษ์
- เป็นยารักษาโรคแก้วตามัว
- เป็นยาแก้ตาแดง แก้โรคอันเกิดแต่จักษุ
- ช่วยแก้อาการจุกเสียด
- เป็นยาแก้โรคบิด แก้ท้องเดิน ท้องเสีย
- ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- เป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิในเด็ก พยาธิไส้เดือนกลมของเด็ก
- มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ และเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
- ใช้เป็นยาขับระดูของสตรี
- ช่วยบำรุงความกำหนัด
- ใช้แก้พิษงู แมลงกัดต่อย และรักษาโรคผิวหนังผดผื่นคัน
- ช่วยระงับอาการปวด
- ช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี
ลักษณะทางกายภาพของโดยทั่วไปของระย่อมน้อย
- ลำต้นของระย่อมน้อย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ผลัดใบในฤดูแล้งและจะผลิใบใหม่ในช่วงฤดูฝน ลำต้นมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 30-70 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นมักคดงอ เปลือกของลำต้นเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอมเทาและมียางสีขาวขุ่น มีรากใต้ดินแตกสาขามาก มีรอยแผลใบอยู่ตามบริเวณลำต้น
- ใบของระย่อมน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันหนาแน่นที่ปลายยอด หรือออกเรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ ใบเรียงคู่จะมีน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้มเป็นมันวาว
- ดอกของระย่อมน้อย ลักษณะการออกดอกเป็นช่อ ลักษณะคล้ายดอกเข็ม โดยจะออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกมีสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนของกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวเป็นสีชมพูเข้มอาจจะมีสีแดง พอดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ สีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นสีแดง ออกดอกในช่วงต้นฤดูหนาว
- ผลของระย่อมน้อย ผลจะมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือรูปทรงรี บางครั้งติดกันจนเป็นกลายผลแฝดตรงโคนด้านใน ผิวผลเรียบเป็นมันและค่อนข้างฉ่ำ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ระย่อม (Ra Yom)”. หน้า 257.
- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ระย่อม”. หน้า 672-673.
- หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ระย่อม”. หน้า 169.
- หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ระย่อมน้อย Rauwolfia”. หน้า 177.
- หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ระย่อม”. หน้า 135-136.
- หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ระย่อมน้อย”. หน้า 474.
- ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ระย่อม”. อ้างอิงใน : หนังสือพืชสมุนไพร เล่ม 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : qsbg.org. [20 มีนาคม 2020].
- สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ระย่อมน้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : rspg.or.th/plants_data/herbs/.[20 มีนาคม 2020].
- ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “ระย่อมน้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : area-based.lpru.ac.th/veg/. [20 มีนาคม 2020].
- ไทยเกษตรศาสตร์. “ประโยชน์ของระย่อมน้อย”. อ้างอิงใน : ศาสตราจารย์พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : thaikasetsart.com. [20 มีนาคม 2020].
- ไทยเกษตรศาสตร์. “ระย่อม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : thaikasetsart.com. [20 มีนาคม 2020].
- สมุนไพรในร้านยาโบราณ. “ระย่อม”. อ้างอิงใน : msu.ac.th. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.infoforthai.com. [20 มีนาคม 2020].
- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ย่อมตีนหมา”. หน้า 666-656