มะระขี้นก เป็นหนึ่งในสมุนไพรตระกูลมะระและเป็นหนึ่งในไม่กี่สมุนไพรที่ให้รสขมจนผู้ที่รับประทานต้องร้องหยี่กันเลยที่เดียวนอกจากชื่อเสียงเรื่องรสชาติแล้วสมุนไพรชนิดนี้ยังมีสรรพคุณที่มีประโยชน์มากมายอาทิเช่น เสริมสร้างระบบภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์หรือ HIV ช่วยรักษาโรคกระเพาะเป็นต้นนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยออกมาว่ามะระขี้นกมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือดให้ลดลงทำให้สามารถรักษาโรคเบาหวานได้นั้นเอง
มะระขี้นก( Bitter gourd ) มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Momordica charantia L.จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับแตงCucurbitaceaeมีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นพื้นเมืองอื่นๆว่า ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู มะระหนู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ ผักไซร้ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป) ชาวปานามาเรียก บัลซามิโน่ เป็นต้น
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของมะระขี้นก
มะระขี้นกสมุนไพรไทย เป็นพันธุ์พืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเขตร้อนของทวีปเอเชียและทางตอนเหนือของประเทศจีนและต่อมาได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังพื้นที่ใกล้เคียงโดยในประเทศไทยสามารถพบพืชชนิดนี้ได้ทั่วไปตามพื้นที่รกร้างและป่าไม้ต่างๆสามารถขึ้นได้ในเกือบทุกสภาพดินแต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินรวนซุยนั้นเอง
ประโยชน์และสรรพคุณทางยาของมะระขี้นก
- อุดมไปสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยในการชะลอริ้วรอยแห่งวัยและความแก่ชราได้
- เสริมสร้างระบบภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย
- มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและเซลล์มะเร็ง
- ช่วยลดระดับไขมันคลอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีส่วนช่วยในการลดความอ้วน
- ช่วยป้องกันการหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง
- มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์หรือ HIV
- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการโรคหอบหืด
- ช่วยบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน เนื่องจากสามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดีและโดยจะออกฤทธิ์ทันทีเมื่อรับประทาน
- ช่วยควบคุมและลดความดันโลหิต
- ช่วยให้เจริญอาหาร แบะช่วยกระตุ้นน้ำย่อยทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
- ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
- แก้ธาตุไม่ปกติ
- เป็นยาช่วยในการฟอกเลือด
- ช่วยในการนอนหลับ
- ช่วยบำรุงสายตา บรรเทาอาการตาฟาง ช่วยในการถนอมสายตา ช่วยทำให้ดวงตาสว่างสดใสขึ้น แก้ตาบวมแดง
- ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
- ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอเรื้อรัง
- ช่วยลดเสมหะที่ข้นเหนียว
- แก้อาการปากเปื่อยลอกเป็นขุยๆ
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน
- ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
- ช่วยในการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะ
- ช่วยรักษาอาการบิด
- ช่วยรักษาอาการบิดถ่ายเป็นเลือดหรือมูก
- แก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง
- ช่วยขับพยาธิตัวกลมก็ได้
- ช่วยขับระดู
- ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
- มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- ช่วยขับลม
- แก้โรคม้าม รักษาโรคตับ
- ช่วยบำรุงน้ำดี
- ช่วยรักษาแผลบวมเป็นหนอง และลดอาการอักเสบ
- แก้อาการคันหรือโรคผิวหนังต่าง ๆ
- ช่วยดับพิษฝีร้อน
- ช่วยรักษาโรคลมเข้าข้อ อาการเท้าบวม
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยจากลมคั่งในข้อ
- ช่วยแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า
- แก้อาการฟกช้ำบวม (
- ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ โปรโตซัว เชื้อมาลาเรีย
ลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปของมะระขี้นก
- ลำต้นของมะระขี้นก จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยลำต้นมีสีเขียวขนาดเล็กมี 5 เหลี่ยม มีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป มีมือเอาไว้เกาะซึ่งเปลี่ยนมาจากใบเจริญออกมาจากส่วนของข้อ ใช้สำหรับยึดจับกับต้นไม้อื่นนั้นเอง
- ใบของมะระขี้นก จัดเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ก้านใบยาว ขอบใบมีลักษณะที่เว้าหยักลึกเข้าไปในตัวใบ 5-7 หยัก ปลายใบแหลม เส้นใบแยกออกจากจุดเดียวกันแล้วแตกเป็นร่างแห มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย เมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวเข้ม
- ดอกของมะระขี้นก จัดเป็นดอกเดี่ยวจะแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน เจริญมาจากข้อ มีกลีบด้านนอก 5กลีบ สีเขียวปนเหลือง กลีบในมีอยู่ 5 กลีบมีสีเหลืองสด ดอกตัวผู้เจริญออกมาก่อนดอกตัวเมีย เกสรตัวผู้มี 3 อัน แต่ละอันมีก้านชูเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีอับเรณู 3 อัน ดอกตัวเมียมีรังไข่แบบหลบใน (inferior ovary) มีรังไข่ 1 อัน stigma 3 คู่ ก้านชูเกสรตัวเมีย 3 อัน
- ผลของมะระขี้นก จะรูปร่างลักษณะคล้ายกับกระสวยสั้นๆ มีผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลยาว 5-7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 2-4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก
สาระเพิ่มเติมเกี่ยวกับมะระขี้นก
มะระขี้นก จะให้รสขมมากกว่ามะระจีน จึงเป็นผักที่นิยมสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการนำเอาผลอ่อนไปต้มหรือเผาไฟเพื่อกินทั้งลูก แต่ถ้าเป็นผลแก่จัดก็ต้องนำมาคว้านเมล็ดออกเสียก่อน สำหรับวิธีการลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือในประมาณหยิบมือ แล้วลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ ก็จะทำให้ลดความขมของมะระลงไปได้และยังคงมีผลสีเขียวสดและกรอบอร่อยอีกด้วย
มะระที่สุกแล้วจะมีสารจำพวกซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณที่สูงมาก การรับประทานอาจทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วงได้ และอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นห้ามรับประทานแบบผลสุก ๆแก่จัดนั้นเอง