กระจับ เป็นวัชพืชน้ำในแหล่งน้ำด้วยลักษณะการแพร่พันธุ์ที่รวดเร็วนั้นเองแต่อย่าพึ่งเข้าใจผิดว่าพืชชนิดนี้จะไม่มีประโยชน์เนื่องจากกระจับมีผลไว้สะสมอาหารที่เป็นแหล่งอาหารในกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งนั้นเองนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากผลของกระจับมีฤทธิ์ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และยังช่วยขับน้ำนมในกลุ่มคุณแม่ให้นมบุตรอีกด้วย
กระจับ (Water caltrop)มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่าTrapa bicornis. อยู่ในวงศ์กระจับTRAPACEAE มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นพื้นเมืองว่า กะจับ มาแง่ง พายับ เขาควาย เป็นต้น
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายสายพันธุ์ของกระจับ
กระจับ เป็นพันธุ์พืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังภูมิภาคเขตร้อนอื่นๆโดยประเทศที่นิยมปลูกพืชชนิดนี้ได้แก่ประเทศแอฟริกา และยูเรเซีย ส่วนในประเทศไทยของเรานั้นมีการปลูกพืชชนิดนี้ในจังหวัดทางภาคกลางของประเทศได้แก่ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี และ อุทัยธานีเป็นต้น
สรรพคุณและประโยชน์ของกระจับ
- ช่วยบำรุงกำลัง
- ช่วยบำรุงครรภ์
- ช่วยบำรุงโลหิต
- ช่วยถอนพิษต่างๆได้
- เป็นยาชูกำลัง
- ช่วยบำรุงร่างกาย
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณแลดูชุ่มชื่น ดูเปล่งปลั่ง
- มีฤทธิ์ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยเสริมสร้างการสร้างกระดูก
- แก้อาการปวดท้อง แก้ท้องเสียเนื่องมาจากอาหารเป็นพิษ
- แก้ร้อนในกระหายน้ำ
- ช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนมในสตรีให้นมบุตร
- บำรุงทารกในครรภ์ ทำให้ทารกในร่างกายแข็งแรง
- ช่วยเสริมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ทั้งในชายและหญิง
วิธีการบริโภคกระจับ
นำกระจับที่ต้มแล้วมาแกะเอาแต่เนื้อขาวๆด้านในจากนั้นนำไปหั่นเป็นชิ้นๆพอดีคำแล้วนำไปชุบกับน้ำหวานสีแดงแล้วไปคลุกกับแป้งต้มด้วยนำเดือดจัดพอแป้งสุกลอยขึ้นเหนือน้ำตักขึ้นแล้วน้ำไปแช่น้ำเย็นจะนั้นนำกะทิไปต้มรวมกับน้ำตาลเพื่อให้ได้นำกะทิหวานหอมนำทั้งสองอย่างมารวมกันใส่น้ำแข็ง แค่นี้เราก็จะได้ทับทิมกรอบจากกระจับแล้วนั้นเอง
ลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปของกระจับ
- ลำต้นของกระจับ จัดเป็นพรรณไม้น้ำ ลำต้นของกระจับจะหยั่งลึกยาวลงดินใต้ท้องน้ำ โดยจะมีลำต้นส่วนหนึ่งจะโผล่บนผิวน้ำคล้ายบัว ที่ประกอบด้วยใบแตกออกด้านข้าง และภายในลำต้นจะประกอบด้วยช่องเล็กๆของอากาศ ส่วนลำต้นบริเวณท้องน้ำจะแตกไหลเลื้อยยาวเป็นข้อปล้อง ส่วนรากนั้นมีสีน้ำตาลแดง มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ รากที่1เป็นรากแตกออกบริเวณข้อปล้องของไหล ส่วนรากชนิดที่ 2 เป็นรากหยั่งลึกลงดินเพื่อยึดลำต้นไว้ไม่ให้ไหลไปตามกระแสน้ำนั้นเอง
- ใบของกระจับ ใบของกระจับมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ใบใต้น้ำและใบเหนือผิวน้ำ โดยใบเหนือผิวน้ำมีลักษณะคล้ายกับรูปข้าวหลามตัด ฐานใบกว้าง ท้องใบ ก้านใบ และเส้นใบมีสีน้ำตาลปนแดง ขอบใบด้านบนหยักเป็นใบเลื่อย ปลายหยักแยกเป็นติ่งหนามสองติ่งสีแดง ใบมีลักษณะเรียบ สีเขียวเข้ม และเป็นมัน ใบมีขนยาวปกคลุมหนาแน่น ขนมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนก้านใบมีลักษณะพองออก ภายในเป็นช่องอากาศลักษณะคล้ายฟองน้ำ ทำหน้าที่ช่วยให้ลำต้นของกระจับลอยน้ำได้ดี ส่วนใบใต้น้ำจะมีลักษณะคล้ายราก สีเขียว ลำใบเป็นฝอย และเรียวยาว ใบนี้จะแตกออกบริเวณข้อของลำต้น
- ดอกของกระจับ ดอกกระจับออกเป็นดอกเดี่ยว ขนาดเล็ก แทงออกบริเวณซอกใบเหนือน้ำ ดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ที่มีโคนเชื่อมติดกันยาวเป็นหลอด ซึ่งกลีบเลี้ยงนี้จะพัฒนามาเป็นฝัก ถัดมาเป็นกลีบดอกสีขาว 4 กลีบ ภายในมีเกสรตัวผู้ 2 อัน และรังไข่ 2 อัน
- ผลของกระจับ จะเรียกว่า ฝัก มีลักษณะคล้ายหน้าวัวหรือควายที่มีเขาออก 2 ข้าง ที่เจริญมาจากกลีบเลี้ยงของดอกกระจับ เปลือกฝักมีลักษณะเป็นเปลือกแข็ง ผิวเปลือกสีม่วงแดงจนถึงดำ หรือเป็นสีดำ เนื้อด้านในจะมีสีขาวเป็นก้อนแป้งขนาดใหญ่ที่จะพัฒนาเป็นใบเลี้ยง และมีก้อนสีขาวขนาดเล็ก 1 อัน แทรกอยู่ ซึ่งจะพัฒนามาเป็นราก และลำต้น
ต่อให้สมุนไพรชนิดนี้จะมีประโยชน์มากขนาดไหนก็มีโทษด้วยเช่นกันเนื่องจากเปลือกของฝักกระจับที่มีความแข็งและแหลมคมทำให้เมื่อหลุดร่วงลงในน้ำจะทำให้เมื่อคนไปเหยียบโดนจะทำให้เกิดแผลถึงขั้นอาจทำให้ติดเชื้อเป็นแผลใหญ่ได้นอกจากนั้นด้วยลักษณะของต้นที่แพร่ไปตามผิวน้ำนั้นหากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกินการเน่าเสียของน้ำได้นอกจากนนี้ยังเป็นการกีดข้างการจราจรทางน้ำอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
- เว็บเพื่อพืชเกษตร.คอม ”กระจับ” เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2020เว็บไชต์com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A/