เทียนตาตั๊กแตน (DILL)เป็นสมุนไพรไทยที่มีถิ่นกำเนิดจากต่างประเทศและได้มีการนำพันธุ์มาปลูกในไทยโดยเป็นหนึ่งในเครื่องยาพิกัดเทียนทั้ง 7 ที่ประกอบด้วยเทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี และ เทียนสัตตบุษย์ที่มีสรรพคุณหลักๆ ช่วยขับลม แก้อาเจียน บำรุงโลหิตเป็นต้นและยังนำไปเข้าตำรับยานวดมหาจักรได้อีกด้วยโดยมีส่วนผสมดังนี้น้ำมันงา ผิวมะกรูดสด เทียนทั้ง 5 ดีปลี และการบูร มีสรรพคุณช่วยแก้ลม แก้ริดสีดวง แก้เปื่อยคัน ทาแก้เมื่อยขบ และใส่บาดแผล ที่มีอาการปวด
เทียนตาตั๊กแตน หรือ ผักชีลาวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Anethum graveolens L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี Apiaceae (Umbelliferae)มีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นพื้นเมืองอื่นๆว่า ผักชีเมือง (น่าน), ผักชีเทียน ผักชีตั๊กแตน (พิจิตร), ผักชี (เลย, ขอนแก่น), เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน (ภาคกลาง) เป็นต้น
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของเทียนตาตั๊กแตน
เทียนตาตั๊กแตน เป็นพรรณพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบางพื้นที่ในทวีปยุโรปและเอเชียเช่นประเทศสเปน ,ฝรั่งเศส,กรีซ,เลบานอน,ซีเรียและอิสรา ในปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการเพาะปลูกพืชชนิดนี้กันอย่างแพร่หลายและยังเป็นผักพื้นบ้านของชาวอีสาน
สรรพคุณและประโยชน์ของเทียนตาตั๊กแตน
- อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระแก่ร่างกายช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัย
- ช่วยบำรุงสายตา ช่วยถนอมสายด้วยเนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามินเอ
- บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- ช่วยบำรุงกำลัง
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ร่างกาย
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง
- ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดรักษาโรคเบาหวาน
- ช่วยขยายหลอดเลือดให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
- ช่วยบำรุงปอด
- ช่วยขับเหงื่อ
- ช่วยกระตุ้นการหายใจ
- แก้หอบหืด
- ช่วยแก้อาการไอ
- ช่วยแก้อาการสะอึก
- ช่วยขับน้ำนมในคุณแม่หลังคลอด
- ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
- ช่วยส่งเสริมการทำงานของกระเพาะอาหาร
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง
- ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อึดอัดแน่นท้อง
- ช่วยขับลมในลำไส้
- ช่วยแก้อาการท้องผูก มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
- แก้อาการปัสสาวะขัด
- ช่วยแก้อาการบวม แก้เหน็บชา
- เป็นยาช่วยทำให้หลับสบาย
ลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปของเทียนตาตั๊กแตน
- ลำต้นของเทียนตาตั๊กแตน จัดเป็นพรรณพืชล้มลุกอายุหนึ่งปีลำต้นเรียบตั้งตรงสีเขียวอ่อนแตกกิ่งบริเวณยอดทั้งต้นมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ลำต้นเป็นข้อปล้องสามารถเห็นได้ชัดเจน
- ใบของเทียนตาตั๊กแตน เป็นใบประกอบ ออกตรงข้ามกันบริเวณข้อกิ่งบนก้านใบประกอบด้วยใบย่อยจำนวนมากแตกออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ส่วนของใบมีลักษณะเป็นเส้นแบนขนาดเล็ก มีสีเขียว
- ดอกของเทียนตาตั๊กแตน ออกเป็นช่อหลายช่อในก้านดอก แทงออกบริเวณส่วนยอดของลำต้น มีก้านช่อดอกยาว 5-15 ซม. แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกประกอบด้วยกลีบดอกสีเหลือง
- ผลของเทียนตาตั๊กแตน เมล็ดแห้งที่แก่จัดมีลักษณะแบน และมีลายสีน้ำตาลสลับดำอมเท่าพาดตามแนวยาวของเมล็ด
องค์ประกอบทางเคมี
น้ำมันหอมระเหยง่ายเรียก น้ำมันเทียนตาตั๊กแตน (dill seed oil) ร้อยละ 1.2-7.7 น้ำมันระเหยง่ายนี้มีองค์ประกอบหลักทางเคมีเป็น สารกลุ่มคาร์โวนประมาณ 35-60%, (+)-d-limonene (10%) และ α-phellandrene (6%), α-terpinene (6%), isoeugenol (2.3%) และพบสารคูมาริน, ฟีนิลโพรพานอยด์, แซนโทน, ฟลาโวนอยด์ ตัวอย่าง dihydrocarvone (12%), carvone (34.5%), carvelol (4%), dihydrocarvecrol (3.5%), petroselinic acid, vicenin, fatty acids, oilgomycin A and C, β-phellandrene, β-myrcene, 3,6-dimethyl-3a,4,5,7a-tetrahydrocoumaran, 3,6-dimethylcoumaran, flavonol glycosides, persicarin, quercetin-3-sulphate, kaemferol, dillanoside, methyl benzoate, 1,5-cineole, p-cymene, safrole, α-pinene, imporatorin, umbelliprenin, bergapten, 4-methylesculetin, umbelliferone, scopoletin, esculetin, anethofuran
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
- ฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหาร สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหารจากการถูกทำลายด้วยกรดเกลือ และแอลกอฮอล์ โดยมีผลลดการหลั่งกรด และปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหาร
- ฤทธิ์ต้านจุลชีพ น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรียหลายชนิด ซึ่งสารสำคัญ คือ carvone
- ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้ดี
- ฤทธิ์ต่อระบบฮอร์โมนเพศหญิง สารสกัดน้ำและสารสกัดแอลกอฮอล์มีผลต่อระบบฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้รอบเดือนมาปกติ
- ฤทธิ์ต้านมะเร็ง น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดมะเร็ง สารสำคัญ คือ anethofuran, carvone และ limonene น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเม็ดเลือดขาวของคนในหลอดทดลอง
การศึกษาทางพิษวิทยา
สารสกัดจากน้ำของเทียนตาตั๊กแตนและสารสกัดแอลกฮอล์-น้ำ มีผลก่อกลายพันธุ์ สารที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ คือ Iso-rhamnetin 3-sulfate (persicarin) และ quercetin 3-sulfate แต่การให้เทียนตาตั๊กแตนปริมาณ 33% ในอาหารเป็นเวลา 410 วัน ไม่พบการก่อเกิดมะเร็งในหนู น้ำมันในความแรง 5% ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูตะเภาขนาด 35 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้เกิดอาการแพ้ถึงขนาดหมดสติการทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดผลด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 2,500 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ตรวจพบอาการเป็นพิษ
เอกสารอ้างอิง
- เทียนตาตั๊กแตน.ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก com/main.php?action=viewpage&pid=70 (05กุมภาพันธ์ 2020)
- Medicinal Plants Of Vietnam, Cambodia And Lao, Nguyen Van Duong, Library of Congress,
- Pamela Westland, The Herb Hand Book, The Apple Press Singapore, 1991