ผักกาดขาว เป็นอีกหนึ่งผักที่นิยมนำมารับประทานกันอย่างมาและสามารถนำมาปรับให้เข้ากับเมนูได้หลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะนำไปทำเมนูต้มผัดแกงทอดก็สามารถอร่อยกับผักชนิดนี้ได้ส่วนของแถมที่มากับผักชนิดนี้นอกจากความอร่อยแล้วยังมีคุณทางสารอาหารมากมายอีกด้วยเช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ และวิตามินเค เห็นอย่างนี้แล้วควรหันมารับประทานกันให้มากๆนะ
ผักกาดขาว (Chinese Cabbage)มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ Brassica rapa L. (Brassica pekinensis var. cylindrica Tsen & S.H.Lee) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAEโดยมีชื่อเรียกอื่นว่า ผักกาดขาวปลี, แปะฉ่าย, แปะฉ่ายลุ้ย เป็นต้น
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของผักกาดขาว
ผักกาดขาว เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ผักกาดของจีนโดยเชื่อกันว่าผักชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศกินก่อนจะได้รับความนิยมในการรับประทานกันอย่างแพร่หลายในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์และสรรพคุณของผักกาดขาว
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- มีแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
- ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
- ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
- ช่วยแก้กระหาย
- ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
- แคลเซียมมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตสูง
- ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือด
- ช่วยขับน้ำนม
- ผักกาดขาวมีออร์กาโนซัลไฟด์ ที่ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ช่วยป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตาบอดตอนกลางคืน
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- อุดมไปด้วยโฟเลตซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก
- ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรงมากขึ้น
- ช่วยแก้หืด
- ช่วยแก้อาการหวัด
- ช่วยแก้อาการไอและช่วยขับเสมหะ
- ช่วยแก้อาการเสียงแห้ง ไม่มีเสียง
- ช่วยแก้เลือดกำเดาออก
- ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด
- ช่วยรักษาแผลในปาก
- ช่วยแก้อาการเรอเปรี้ยว
- ช่วยแก้อาการเจ็บคอ
- ช่วยในการย่อยอาหาร
- แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
- ช่วยแก้ท้องเสีย
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการท้องผูก
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยแก้พิษสุรา
- ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
- ช่วยรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคเหน็บชา
- ช่วยแก้อาการอักเสบ
- ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกหรือแผลโดนสะเก็ดไฟ
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำดำเขียว
ข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของผักกาดขาว 100 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
- โปรตีน 0.6 กรัม
- น้ำ 91.7 กรัม
- เส้นใย 0.8 กรัม
- วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 30 มิลลิกรัม
- แคลเซียม 49 มิลลิกรัม
- แมงกานีส 1.26 มิลลิกรัม
- ทองแดง 0.21 มิลลิกรัม
- สังกะสี 3.21 มิลลิกรัม
- โบรอน 2.07 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 196 มิลลิกรัม
- กรดนิโคติก 0.5 มิลลิกรัม
ลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปของผักกาดขาว
- ลำต้นของผักกาดขาว เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง มีลักษณะกลมๆ จะมีก้านใบหนาและยาวอวบน้ำหุ้มอยู่ ออกเรียงสลับโดยรอบๆ ปกคลุมที่ลำต้น จะห่อปลีหรือไม่ห่อปลี ตามสายพันธุ์ มีสีเขียวอ่อน
- ใบของผักกาดขาวใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ใบแตกออกอยู่โคนต้น ออกเรียงสลับรอบๆ ใบอยู่ด้านนอกใหญ่กว่าใบข้างในเล็กกว่า มีลักษณะทรงกลมรี โคนใบกว้างใหญ่กว่า ผิวใบบางเป็นมัน เห็นเส้นใบชัดเจน ขอบใบหยัก ใบมีสีเขียวอ่อน เขียวปนเหลือง หรือสีเขียวแก่ มีก้านใบใหญ่ เป็นกาบหนาและยาวอวบน้ำ มีสีขาวนวล รสชาติหวานกรอบ
- ดอกของผักกาดขาวดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่ยาว มีแขนงก้านย่อยมาก มีดอกย่อยออกที่ปลายยอด ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลือง
- ผลของผักกาดขาวมีผลเป็นฝัก มีลักษณะทรงกลมเรียวยาว มีปลายเป็นจงอยยาว ฝักดิบมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาล เมื่อฝักแก่จัดจะแตกออก
ข้อควรระวังในการรับประทานผักกาดขาว
- สำหรับผู้ที่มีอาการม้ามพร่อง คือ มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้องเป็นประจำ อาหารไม่ค่อยย่อย มีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ไม่ควรรับประทานผักกาดขาวในปริมาณมากเกินไป
- สำหรับการรับประทานผักกาดขาว ในการเลือกซื้อผักกาดขาวควรระวังในเรื่องของสารปนเปื้อนหรือยาฆ่าแมลงให้ดี เพราะการรับประทานเข้าไปในปริมาณมากอาจจะไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย