ละหุ่ง จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งในอดีต เพราะเมล็ดนำมาสกัดน้ำมัน ซึ่งถูกใช้มากในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ การผลิตน้ำมันหล่อลื่น สี หมึกพิมพ์ แต่ในปัจจุบันวงการแพทย์ได้มีการวิจัยน้ำมันจากเมล็ดละหุ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดตามร่างกาย ตามข้อต่อต่างๆได้เป็นอย่างดีเลยที่เดียวจนกลายเป็นสมุนไพรไทยสำคัญ
ละหุ่ง ( Castor ) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ricinus communis L. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)มีชื่อเรียกในภาษาอื่นๆว่าละหุ่งแดง ละหุ่งขาว มะละหุ่ง (ภาคกลาง), มะโห่ง มะโห่งหิน (ภาคเหนือ), ปี่มั้ว (จีน) เป็นต้น
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของละหุ่ง
ละหุ่ง เป็นพรรณพืชที่มีกำเนิดอยู่ในแถบทวีปแอฟริกาตะวันออก โดยปัจจุบันประเทศที่มีการส่งออกละหุ่งมากที่สุด3อันดับแรกของโลกได้แก่บราซิล อินเดีย และประเทศไทยนั้นเอง
ประโยชน์และสรรพคุณของละหุ่ง
- ช่วยแก้เลือดลมพิการ
- ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
- สามารถลดอาการปวดฟัน ได้
- เป็นยากินแก้พิษไข้เซื่องซึมได้
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง
- ช่วยขับลมในลำไส้
- มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
- ช่วยแก้อาการช้ำรั่วหรืออาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ใบสดช่วยขับระดูของสตรี
- ใช้ประคบแก้ริดสีดวงทวาร
- เป็นยาสมาน
- เป็นยาพอกแผลได้
- ใช้พอกรักษาแผลเรื้อรังได้
- เป็นยารักษาฝีได้
- รักษาผิวหนังอักเสบ
- ใช้ทาแก้กระดูกหัก กระดูกแตกได้
- แก้อาการปวดบวมหรือปวดตามข้อได้
- แก้อาการปวดข้อปวดหลังได้ (
- ช่วยขับน้ำนมของสตรี
ลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปของละหุ่ง
- ลำต้นของละหุ่งจัดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็กโดยต้นละหุ่งขาวจะมีลำต้นและก้านใบเป็นสีเขียว ส่วนละหุ่งแดงจะมีลำต้นและก้านใบเป็นสีแดง ส่วนยอดอ่อนและช่อดอกเป็นสีนวลขาว
- ใบของละหุ่ง มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีขนาดไม่เท่ากัน ปลายจักเป็นต่อม
- ดอกของละหุ่ง ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งหรือปลายยอด ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะ บางครั้งแยกแขนง ดอกมีทั้งตัวผู้และตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน โดยดอกตัวผู้จะอยู่ช่วงบน ส่วนดอกตัวเมียจะอยู่ช่วงล่าง ซึ่งก้านดอกตัวเมียจะยาวกว่าก้านดอกตัวผู้
- ผลของละหุ่ง ผลเป็นผลแห้งแบบแคปซูล ลักษณะเป็นทรงรี ลักษณะเป็นรูปไข่ มีสีเขียว ผิวของผลมีขนคล้ายหนามอ่อน ๆ ทั้งผลคล้ายผลเงาะ มีเมล็ดเป็นทรงรี