สมุนไพรกระดังงาไทย เป็นหนึ่งในเครื่องยาพิกัดเกสรทั้ง 7 และ9ชนิด นิยมยามปลูกกันเพื่อความสวยงามและใหม่รมเงาแก่บ้านนั้นเองในตำหรับยาสมุนไพรไทยโบราณระบุบว่าสรรพคุณของสมุนไพรชนิดนี้หากเข้าตัวยากแล้วช่วยแก้อาการไข้เนื่องจากโลหิตเป็นพิษนั้นเอง
กระดังงาไทย (Cananga) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Uvaria odorata Lam.) จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE) มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นอื่นๆว่า กระดังงา (ยะลา, ตรัง), กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (ภาคกลาง), สะบันงา สะบันงาต้น (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของกระดังงาไทย
กระดังงาไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย
สรรพคุณและประโยชน์ของกระดังงาไทย
- เป็นยาขับปัสสาวะ
- แก้ปัสสาวะพิการ
- แก้อาการท้องเสีย
- ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน
- มีสรรพคุณเป็นยาคุมกำเนิด
- แก้อาการคัน
- เป็นยาชูกำลัง
- ทำให้หัวใจชุ่มชื่น
- บำรุงธาตุ
- บำรุงโลหิต
- บำรุงหัวใจ
- แก้ไข้ แก้อาการอ่อนเพลีย
- กระหายน้ำ
- เป็นยาแก้ลมจุกคอ
- แก้อาการแน่นหน้าอก
- แก้จุกเสียดและแก้สะอึก
- ช่วยเจริญอาหาร
- ใช้แก้โรคตา
- ฆ่าเชื้อโรค
- ช่วยบำรุงประสาท สงบประสาท
- แก้อาการซึมเศร้า กระวนกระวายใจ
- แก้หอบหืด
- ช่วยลดความดันโลหิต
ลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปของกระดังงาไทย
- ลำต้นของกระดังงาไทย เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงพุ่มแน่น แตกกิ่งก้านสาขามาก แผ่ออกจากต้นมักลู่ลง ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยงหรือสีเงิน พบรอยแผลใบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป ส่วนที่ยังอ่อนอยู่มีขนปกคลุม ใบดกหนาทึบ
- ใบของกระดังงาไทย เป็นใบเดี่ยว สีเขียวอ่อนบาง นิ่ม ออกแบบเรียงสลับในลักษณะห้อยลง รูปขอบขนาน ปลายแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนมนกลมหรือเบี้ยว ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบเรียบบาง นิ่ม สีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนทั้งสองด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบ
- ดอกของกระดังงาไทย ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่บนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อดอกแยกแขนง ดอกย่อยสีเหลืองอมเขียวหรือสีเหลือง มีกลิ่นหอมมาก กลีบยาวอ่อน มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
- ผลของกระดังงาไทย ผลเป็นผลกลุ่มผลมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ เมล็ดรูปไข่แบน สีน้ำตาลอ่อน