สมุนไพรไทยลำดวน เป็นหนึ่งในสมุนไพรโบราณมีความหอมที่เป็นเอกลักษณ์จนขนาดที่คนเอามาตั้งเป็นชื่อลูกสาวตัวเองกันเลยทีเดียว ปู่ย่าตายายเชื่อกันว่า บ้านไหนปลูกลำดวนไว้ที่บ้านจะมีแต่คนคิดถึง คนในบ้านก็จะสดชื่น อารมณ์แจ่มใส ในทางยา ดอกแห้ง ใช้ทำยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด แก้ลม ยาแก้ไข้ แต่ต้องทำใจว่า ลำดวนเป็นไม้หอมที่โตช้ามากและเป็นหนึ่งในเครื่องยา พิกัดเกสรทั้ง 9 ชนิดอีกด้วย
ลำดวน ( White cheesewood )ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour. จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE) มีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นอื่นๆว่า หอมนวล (ภาคเหนือ) ส่วนภาคกลางเรียก “ลําดวน”
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของลำดวน
ลำดวน เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยในไทยเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเป็นมงคลประจำจังหวัดศรีษะเกษ และดอกลำดวนยังเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ
สรรพคุณและประโยชน์ของลำดวน
- เป็นยาบำรุงกำลัง
- เป็นยาบำรุงโลหิต
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- เป็นยาแก้ลมวิงเวียน
- ใช้เป็นยาแก้ไข้
- ช่วยแก้อาการไอ
- ยาแก้ไข้
- แก้ร้อนในกระหายน้ำ
- ช่วยชูกำลัง
- แก้อาการอ่อนเพลีย
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- แก้พิษโลหิต แก้ลม
ลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปของลำดวน
- ลำต้นของลำดวน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวย แน่นทึบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกขรุขระเป็นสะเก็ด
- ใบของลำดวน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมโคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบบางแต่เหนียว สีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นกลางใบสีเหลืองนวล ก้านใบ สีน้ำตาลแดง
- ดอกของลำดวน สีเหลือง มีกลิ่นหอมเย็น ออกเป็นดอกเดี่ยวที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง และปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย
- ผลของลำดวน ผลสดแบบมีเนื้อเป็นผลกลุ่มเรียงอยู่บนแกนตุ้มกลมเมื่อสุกเป็นสีแดงอมดำ เมล็ดมีเนื้อห่อหุ้ม รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน