สารภี เป็นหนึ่งในเครื่องยาพิกัดเกสรทั้ง 9 ชนิด ซึ่งเป็นตำรับยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ทำให้ชื่นใจ แก้ลมกองละเอียด แก้อาการหน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ แก้โรคตา แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ และช่วยบำรุงครรภ์ของสตรีนอกจากนี้ยังนิยมเอานำผลของต้นไปทำน้ำผลไม้ การทำไวน์ ทำแยม เป็นต้น
สารภี(Negkassar) ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis T.Anderson (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calysaccion siamense Miq.)จัดอยู่ในวงศ์ CALOPHYLLACEAE มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นอื่นๆสารภีแนน (เชียงใหม่), ทรพี สารพี (จันทบุรี), สร้อยพี (ภาคใต้) เป็นต้น
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของสารภี
สารภี เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศพม่า ไทย อินโดจีน และคาบสมุทรมาเลเซียและได้รับการยกย่องเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพะเยา
ประโยชน์และสรรพคุณของสารภี
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- ช่วยขยายหลอดเลือด
- ช่วยทำให้ชื่นใจ
- ช่วยบำรุงเส้นประสาท
- เป็นยาชูกำลัง บำรุงกำลัง
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- ช่วยรักษาธาตุไม่ปกติ
- ช่วยแก้โลหิตพิการ
- เป็นยาแก้ไข้
- ช่วยแก้ไข้มีพิษร้อน
- ช่วยแก้ลมวิงเวียน มีอาการหน้ามืดตาลาย
- มีฤทธิ์ขับลม
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ใช้เป็นยาฝาดสมาน
- ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ
- ช่วยบำรุงครรภ์รักษา
- ช่วยแก้อาการร้อนใน แก้ลม วิงเวียน แก้โลหิตพิการ โลหิตเป็นพิษ ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- บำรุงหัวใจ บำรุงเส้นประสาท ชูกำลัง
- ช่วยแก้ไข้มีพิษร้อน
- ช่วยบำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ
- บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ทำให้ชื่นใจ
- แก้ลมกองละเอียด
- แก้อาการหน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ
- แก้โรคตา แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
- ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
ลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปของสารภี
- ลำต้นของสารภี จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาลถึงดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดตลอดทั่วลำต้น เปลือกในเป็นสีน้ำตาลแดง มียางสีครีมหรือสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย
- ใบของสารภี มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับหรือเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนกว้าง ๆ บางทีอาจมีติ่งสั้น ๆ หรือหยักเว้าแบบตื้น ๆ โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบ
- ดอกของสารภี ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมมาก
- ผลของสารภี ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยหรือกลมรีผิวผลเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองอมส้ม เนื้อผลนิ่ม ผลเมื่อแก่จะแตกออกได้ และมีเมล็ดเดียว
อ้างอิง
- หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). . หน้าที่ 181.
- หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).หน้าที่ 301.
- หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิล). หน้าที่ 136.
- สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. เข้าถึงได้จาก: go.th. [11 ม.ค. 2014].
- สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.เข้าถึงได้จาก: or.th. [11 ม.ค. 2014].
- ฐานข้อมูลน้ำมันหอมระเหยไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.).เข้าถึงได้จาก: or.th/essentialoils/. [11 ม.ค. 2014].
- ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ดอกสารภี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.198.146. [11 ม.ค. 2014].
- ไม้ประดับออนไลน์ดอตคอม ศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับออนไลน์.เข้าถึงได้จาก: com. [11 ม.ค. 2014].
- อุทยานดอกไม้ ๑๐๘ พรรณไม้ไทย. “สารภี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: com. [11 ม.ค. 2014].
- มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 361 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. (ดร.ปิยรัษฎ์ เจริญทรัพย์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: or.th. [11 ม.ค. 2014].
- ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พิกุล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: com. [11 ม.ค. 2014].
- พืชกรณีศึกษา งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนตาลชุมพิทยาคม อำเภอเวียงสา จังหวัด เข้าถึงได้จาก:net/n_putthima/sarapee-presentation. [11 ม.ค. 2014].