บัวหลวง เป็นหนึ่งในสมุนไพรเครื่องพิกัดเกสรทั้ง 9 ได้แก่ ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกจำปา ดอกมะลิ เกสรบัวหลวง ดอกลำดวน ดอกลำเจียก ดอกกระดังงา และ ดอกบุนนาคซึ่งมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไข้ ช่วยบรรเทาอาการร้อนใน กระหายน้ำได้นอกจากนี้สารสกัดจากเกสรบัวหลวงยังนำมาใช้ทำเป็นเครื่องสำอางที่เป็นตัวช่วยชะลอการสร้างเม็ดสีผิว ทำให้ผิวหนังเต่งตึงและอ่อนนุ่ม เช่น ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิวทั้งกลางวันกลางคืนได้อีกด้วย
บัวหลวง( Lotus )ชื่อวิทยาศาสตร์ Nelumbo nucifera Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์บัวหลวง (NELUMBONACEAE)มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นอื่นๆว่าโกกระณต, บัว, บัวอุบล, บัวฉัตรขาว, บัวฉัตรชมพู, บัวฉัตรสีชมพู, บุณฑริก, ปุณฑริก, ปทุม, ปัทมา, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, โช้ค (เขมร) เป็นต้น
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของบัวหลวง
สมุนไพรบัวหลวงมีการสันนิฐานว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียในทวีปเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (รวมทั้งบริเวณประเทศไทย)ในประเทศไทยบัวหลวงนั้นนับเป็นพรรณพืชพื้นเมืองของไทย และเป็นพืชชนิดแรกๆ ที่บรรพบุรุษของไทยนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งในการใช้บริโภค , ใช้ในประเพณีและความเชื่อต่างๆ ปัจจุบันสามารถพบเห็นบัวหลวงได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่ส่วนใหญ่มักจะมีการปลูกเชิงพาณิชย์ในภาคกลาง เช่น อยุธยา , สระบุรี , นนทบุรี , ปทุมธานี เป็นต้น
สรรพคุณและประโยชน์ของบัวหลวง
- ช่วยบำรุงกำลัง ใช้เป็นยาชูกำลัง
- เป็นยาแก้กษัยเส้น
- ช่วยบำรุงโลหิต
- ช่วยลดความดันโลหิตสูงและลดไขมันในเส้นเลือด
- ช่วยบำรุงประสาทและสมอง
- ช่วยเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ทำให้หลับสบาย
- ช่วยคุมธาตุในร่างกาย
- ช่วยลดไข้ แก้ไข้
- ช่วยระงับอาการหวัดคัดจมูก ลดเสมหะ
- ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก
- ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
- ช่วยแก้อาการติดเชื้อในช่องปาก
- ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด
- ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
- ช่วยบำรุงปอด
- ช่วยแก้อาการท้องเสีย
- ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะบ่อย
- ช่วยสมานแผลในมดลูก
- ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี
- ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ
- ช่วยบำรุงตับ
- ช่วยบำรุงไต ม้าม ตับ
- ช่วยบำรุงไขข้อ เส้นเอ็น แก้โรคข้อต่าง ๆ
ลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปของบัวหลวง
- ลำต้นของบัวหลวง เป็นพรรณไม้น้ำอายุหลายปีมีระบบรากเหง้าอยู่ในดินยาวและเป็นปล้องโดยไลของบัวจะเลื้อยไปตามพื้นดินแล้วไปแตกเป็นต้นให้นั่นเอง
- ใบของบัวหลวง เป็นใบเดี่ยวมีลักษณะเป็นรูปโล่ผิวใบมีนวล ก้านใบยาวชูขึ้นเหนือน้ำก้านใบมีสีเขียวขรุขระ
- ดอกของบัวหลวง เป็นดอกเดี่ยว แทงออกจากเหง้า ด้านดอกยาว ชูดอกขึ้นเหนือน้ำ กลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ติดอยู่รอบฐานดอกรูปกรวย
- ผลของบัวหลวง ผลแห้ง รูปรี จำนวนมาก ฝังอยู่ในฐานรองดอก