ผักกูด เป็นอีกหนึ่งผักพื้นบ้านของชาวล้านนาที่นิยมนำมารับประทานในหลากหลายเมนูแต่ที่จริงแล้วผักกูดเป็นยอดอ่อนของเฟิร์นชนิดหนึ่งที่สามารพบเจอได้ตามพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติโดยนิยมนำมาทำเมนูแกงผักกูด ผัดผักกูด ยำผักกูดกุ้งสดนั้นเองแถมยังเป็นแหล่งวิตามินเอ วิตามิน เอ วิตามินบี อีกด้วยรู้อย่างนี้ควรหันมาบริโภคผักกูดกันมากๆนะครับ
ผักกูด ( Paco fern) ชื่อวิทยาศาสตร์ Diplazium esculentum (Retz.) Sw. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Athyrium esculentum (Retz.) Copel.) จัดอยู่ในวงศ์ ATHYRIACEAE
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของผักกูด
สมุนไพรไทยผักกูดมีแหล่งกำเนิดในพื้นที่ทวีปเอเชียบริเวณเขตร้อน โดยในประเทศไทยพบในที่ลุ่มชุ่มน้ำ ริมคลองหนองบึง
ประโยชน์และสรรพคุณของผักกูด
- ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง
- ช่วยเสริมสร้างภูมิให้แก่ร่างหาย
- อุดมไปด้วยสารต้านอนุมิลอิสระที่ช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัย
- ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน
- ช่วยดับร้อน ทำให้ร่างกายปรับสภาพอุณหภูมิให้เข้ากับฤดูได้
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด
- ช่วยบำรุงโลหิต
- ช่วยแก้โรคโลหิตจาง
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง
- ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้
- ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างดี
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยแก้พิษอักเสบ
ข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของยอดผักกูด 100 กรัม
- พลังงาน 19 กิโลแคลอรี
- โปรตีน 4.09 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม
- วิตามินอี 0.99 กรัม
- แคลเซียม 18.79 กรัม
- ฟอสฟอรัส 72.72 กรัม
- ธาตุเหล็ก 0.82 กรัม
- โซเดียม 10.90 กรัม
- โพแทสเซียม 507.70 กรัม
- วิตามินบี 2 0.07 มิลลิกรัม
- แอนติออกซิแดนท์ 211.92 มิลลิกรัม
ลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปของผักกูด
- ลำต้นของผักกูด เป็นพืชล้มลุกมีอายุยืน ลำต้นตั้งตรงมีทรงพุ่ม ออกต้นแตกหน่อมีไหลแตกออกจากกอ ลำต้นมีลักษณะกลมๆ มีกาบใบล้อมรอบ ลำต้นอ่อนมีสีเขียวอ่อน ลำต้นแก่มีสีน้ำตาลอมเขียว ก้านออกจากลำต้น ใบมีส่วนปลายม้วนงอ
- ใบของผักกูด เป็นใบประกอบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ มีก้านใบยาว มีก้านใบย่อยก้านสั้น ออกตรงข้ามกัน มีลักษณะรูปหอก ทรงยาวรี โคนใบรูปหัวใจปลายใบเรียวแหลม ขอบฟันเลื่อย ใบมีสีเขียว มีขนเล็กๆ ยอดอ่อนและปลายยอดโค้งงอคล้ายก้นหอย