ผักบุ้ง เป็นผักพื้นบ้านที่อยู่คู่ครัวไทยมาอย่างช้านานโดยมีหลากหลายเมนูที่ใช้ผักบุ้งเป็นวัตถุดิบหลักเช่น แกงหมูเทโพ เมนูโบราณของพระรามลงทรง และแกงปลาผักบุ้ง นั้นเองนอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินต่างๆไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินบี แคลเซียม และยังมีสรรพคุณที่ช่วยบำรุงสายตานอกจากนี้สามารถหาผักชนิดนี้ได้ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง
ผักบุ้ง (water convolvulus ) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea aquatica Forssk. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ipomoea reptans Poir.) จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์ของผักบุ้ง
โดยถิ่นกำเนิดแต่ดั้งเดิมของผักบุ้งอยู่ในเขตแถบร้อนน้ำท่วมขังของทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทยด้วยโดยเป็นที่รู้จักกันตั้งสมัยโบราณมาแล้ว
ประโยชน์และสรรพคุณของผักบุ้ง
- ช่วยกระตุ้นให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอริ้วรอยแห่งวัย
- ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้
- ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น
- ช่วยบำรุงธาตุ
- เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน
- ช่วยในการบำรุงโลหิต
- ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
- ช่วยแก้โรคประสาท
- ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
- ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
- ช่วยแก้อาการเหงือกบวม
- ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง
- แก้เลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ
- ใช้แก้โรคหืด
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารจากผลของยาแอสไพริน
- ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
- ยอดผักบุ้งมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ
- ช่วยทำความสะอาดของเสียที่ตกค้างในลำไส้
- มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง
- ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายออกมาเป็นเลือด
- ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
ข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 19 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัม
- เส้นใย 2.1 กรัม
- ไขมัน 0.2 กรัม
- โปรตีน 2.6 กรัม
- วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม 39%
- วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 2 0.1 มิลลิกรัม 8%
- วิตามินบี 3 0.9 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินบี 5 0.141 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 6 0.096 มิลลิกรัม 7%
- วิตามินบี 9 57 ไมโครกรัม 14%
- วิตามินซี 55 มิลลิกรัม 66%
- ธาตุแคลเซียม 77 มิลลิกรัม 8%
- ธาตุเหล็ก 1.67 มิลลิกรัม 13%
- ธาตุแมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม 20%
- ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม 8%
- ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุโพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุโซเดียม 113 มิลลิกรัม 8%
- ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม 2%
แหล่งที่มาอ้างอิง : ndb.nal.usda.gov
ลักษณะทางกายภาพทั่วไปของผักบุ้ง
- ลำต้นของผักบุ้ง เป็นไม้ล้มลุกกึ่งเลื้อย โดยในช่วงแรกลำต้นจะตั้งตรง และต่อมาเมื่อลำต้นยาวมาก ลำต้นจะค่อยๆโน้ม แล้วเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นมีลักษณะมีข้อปล้องที่มีตาใบ และตาดอกแตกออกมา ลำต้นมีสีเขียว
- ใบของผักบุ้ง เป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหอก เรียวยาว โคนใบกว้างเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ
- ดอกของผักบุ้ง ดอกผักบุ้งจีนออกเป็นช่อ เป็นดอกสมบูรณ์ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกตรงกลาง
- ผล และเมล็ดของผักบุ้ง เป็นผลเดี่ยว มีลักษณะกลมผลมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม ผิวมีลักษณะขรุขระ เมื่อผลแก่แห้งจะไม่มีรอยปริแตก